ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์
ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย
กรรมการสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง
รักษาราชการแทน
อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง
e-mail : president@rumail.ru.ac.th

 

อ.ดร.ชาคริต สกุลอิสริยาภรณ์
รธก.ฝ่ายวิทยบริการ จ.บุรีรัมย์
e-mail : vp-buriram@rumail.ru.ac.th


 

ประวัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง                                             

- รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา

“สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม”

- เตรียมคนเพื่อเตรียมงาน

  มหาวิทยาลัยรามคำแหงยุคก่อตั้ง

- ศ.ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ กับตลาดวิชา

- มหาวิทยาลัยของประชาชน

- รำลึกถึง ศ.ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์

- วันสำคัญของมหาวิทยาลัยยุคก่อตั้ง

บัณฑิตศึกษาภาคพิเศษ (ปริญญาโท)

 

มหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา 3 สาขาวิชาคือ
1) บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
2) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์
3) ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา

ชื่อและอักษรย่อปริญญา

 

1.
1.1 ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
  1.2 อักษรย่อ (ภาษาไทย)
บธ.ม.
  1.3 ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) Master of Business Administration
  1.4 อักษรย่อ (ภาษาอัวกฤษ) M.B.A.
2.
1.1 ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา)
  1.2 อักษรย่อ (ภาษาไทย)
ศษ.ม. (บริหารการศึกษา)
  1.3 ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) Master of Education (Education Administration)
  1.4 อักษรย่อ (ภาษาอัวกฤษ) M.Ed. (Education Administration)
3.
1.1 ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์)
  1.2 อักษรย่อ (ภาษาไทย)
ศศ.ม.
  1.3 ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) Master of Arts in Political Science
  1.4 อักษรย่อ (ภาษาอัวกฤษ) M.A. (Political Science)

 

วิธีจัดการสอน

ระบบการศึกษาแบบเรียนครั้งละ 1 วิชา (Block course system) กล่าวคือ เรียนจนจบกระบวนวิชานั้นแล้วจึงเรียนวิชาถัดไป แต่ละวิชามีชั่วโมงการเรียนรวมไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง (รายละเอียดในการเรียนดูจากตารางเรียนที่กำหนดไว้) บรรยายโดยระบบ Video Conference และสื่อสารสองทางผ่านดาวเทียมและใยแก้วนำแสง ไปยังสาขาวิทยบริการฯ ของมหาวิทยาลัยในจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ในภูมิภาคและที่วิทยาเขตบางนา (สอนวันอังคาร - วันศุกร์ เวลา 17.00 - 21.00 น.วันเสาร์ 08.00 - 21.00 น. และวันอาทิตย์ 08.00 - 17.00 น.)

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา

คุณวุฒิและคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในหลักสูตรมหาบัณฑิต (ภาคพิเศษสาขาวิทยบริการฯ) มีดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาที่ทบวงมหาวิทยาลัย หรือ ก.พ.รับรอง
2. ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือ โรคสำคัญที่เป็นอุปสรรต่อการศึกษา
3. ไม่เป็นผู้เคยถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใด ๆ เนื่องจากการกระทำความผิด หรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย
4. ไม่เป็นผู้เคยต้องโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
5. คุณสมบัติอื่นให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงกำหนด

หลักฐานในการสมัคร

1. หลักฐานแสดงคุณวุฒิปริญญาตรี หรือเทียบเท่า
2. ใบรายงานผลการเรียน (Transcript)
3. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
4. หลักฐานแสดงการปฏิบัติงาน หรือการดำรงตำแหน่ง หรือใบแนะนำตัว (Recommendation) ของผู้บังคับบัญชา หรือผู้ที่อ้างอิงได้

วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

1. พิจารณาเบื้องต้นจากใบสมัคร ซึ่งจะครอบคลุมสาขาวิชาเป็นพื้นฐานในระดับปริญญาตรี ผลการศึกษา ทักษะในการเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
2. การสอบสัมภาษณ์ ผู้สมัครจะต้องผ่านการสัมภาษณ์ และ/หรือ ทดสอบศักยภาพตามที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงกำหนด โดยเป็นผู้มีบุคลิภาพที่เหมาะสม มีวิสัยทัศน์ ความคิดสร้างสรรค์ วุฒิภาวะ และการแสดงออกในด้านความพร้อมอื่น ๆ ที่สามารถเข้าศึกษาจนสำเร็จการศึกษาได้
3. มหาวิทยารามคำแหง เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และพิจารณาผลการคัดเลือกและเป็นเอกสิทธิ ของมหาวิทยาลัยที่จะพิจารณารับผู้ใดเข้าศึกษาหรือไม่
ระบบการศึกษา
ระบบการศึกษาเป็นแบบทวิภาค โดยแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ คือ ภาคการศึกษาที่ 1 (First Semester) ภาคการศึกษาที่ 2 (Second Semester)

ระยะการศึกษา

ระยะเวลาการศึกษาเพื่อรับปริญญามหาบัณฑิต กำหนดให้ไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา แต่ไม่เกิน 5 ปีการศึกษา โดยสอบผ่านได้คะแนนสะสม (G.P.A.) ไม่น้อยกว่า 3.0 การนับระยะเวลา 5 ปีการศึกษา ให้คำนวณเป็นภาคการศึกษาโดย 1ปีการศึกษา มี 2 ภาคการศึกษาปกติ นักศึกษาจะต้องมีเวลาเรียนคิดเป็นร้อยละแปดสิบของเวลาเรียนทั้งหมด

โครงสร้างหรือองค์ประกอบของหลักสูตร

1. องค์ประกอบของหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (ภาคพิเศษ สาขาวิทยบริการฯ) มีดังนี้

1.1 หมวดวิชาเสริมปรับพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
1.2 หมวดวิชาแกนบังคับ
1.3 หมวดวิชาเฉพาะ
1.4 หมวดวิชาเลือก
1.5 หมวดวิชาศึกษาค้นคว้าด้วยตังเอง
1.6 สอบประมวลความรู้
รวม

0 หน่วยกิต
30 หน่วยกิต
12 หน่วยกิต
3 หน่วยกิต
3 หน่วยกิต
*_ หน่วยกิต

48 หน่วยกิต
2. องค์ประกอบของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) ภาคพิเศษ สาขาวิทยบริการฯ มีดังนี้

2.1 หมวดวิชาปรับพื้นฐาน 2 วิชา (ED 501,ED 502)
(สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นความรู้ทางการศึกษา ยกเว้นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการศึกษามาไม่น้อยกว่า 3 ปี)
2.2 หมวดวิชาพื้นฐาน 3 วิชา
2.3 หมวดวิชาเอก 12 วิชา
2.4 หมวดการศึกษาอิสระ 1 วิชา
2.5 สอบประมวลความรู้
รวม

0 หน่วยกิต


9 หน่วยกิต
36 หน่วยกิต
3 หน่วยกิต
*_ หน่วยกิต
48 หน่วยกิต

3. องค์ประกอบของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) ภาคพิเศษ สาขาวิทยบริการฯ มีดังนี้
3.1 หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (PS 503)
3.2 หมวดวิชาพื้นฐานทางรัฐศาสตร์
3.3 หมวดวิชาบังคับ
3.4 หมวดวิชาบังคับเลือก
3.5 หมวดวิชาการศึกษาแบบอิสระ
3.6 สอบประมวลความรู้
รวม

0 หน่วยกิต
15 หน่วยกิต
9 หน่วยกิต
18 หน่วยกิต
3 หน่วยกิต
*_ หน่วยกิต
45 หน่วยกิต

การลงทะเบียน

1. มหาวิทยาลัยจะจัดให้มีการลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคเรียน ในการลงทะเบียนเรียนนักศึกษาต้องใช้เอกสารต่าง ๆ สำหรับลงทะเบียนเรียนกระบวนวิชาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด และต้องแสดงใบเสร็จรับเงิน ใบลงทะเบียนตามวัน เวลา และสถานที่ ซึ่งมหาวิทยาลัยกำหนด นักศึกษาที่มาลงทะเบียนเรียนช้ากว่ากำหนดต้องถูกปรับตามอัตราที่มหาวิทยาลัยกำหนด นักศึกษาจะต้องนำหลักฐานการลงทะเบียนและบัตรประจำตัวนักศึกษามาแสดงทุกครั้งที่มีการสอบ
2.นักศึกษาแต่ละคนมีอาจารย์ที่ปรึกษาที่คณะแต่งตั้งและมอบหมายให้ทำหน้าที่ เป็นผู้แนะแนวและจัดแผนการศึกษา ตลอดจนการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) การลงทะเบียนและการสอบประมวลความรอบรู้ทุกครั้งต้องได้รับความเห็นชอบจาก อาจารย์ที่ปรึกษา
รายละเอียดอื่น ๆ เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดการวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

วิธีการวัดผล

มหาวิทยาลัยจะจัดให้มีการวัดผลสำหรับกระบวนวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนไว้ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง การวัดผลอาจทำในระหว่างการศึกษาก็ได้ เมื่อสิ้นการศึกษาวิชาหนึ่งจะมีการสอบไล่ในแต่ละกระบวนวิชา บางกระบวนวิชาอาจไม่มีการสอบไล่ตอนปลายภาคการศึกษาแต่อาจใช้วิธีการวัดผลและประเมินผลในลักษณะอื่น ซึ่งมหาวิทยาลัยจะแจ้งให้ทราบไว้ในประกาศกระบวนวิชาที่เปิดสอน

การวัดและการประเมินผลของแต่ละกระบวนวิชาใช้อักษรระดับคะแนนดังนี้
อักษรระดับคะแนน
A
A-
B+
B
B-
C+
C
C-
D
I
แต้มระดับคะแนนต่อหน่วยกิต
4.00
3.67
3.33
3.00
2.67
2.33
2.00
1.67
1.00
สัญลักษณ์สำหรับวิชาที่ยังสอบไม่ผ่าน

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

มหาวิทยาลัยจะเสนอชื่อนักศึกษาเพื่อรับปริญญาหลังจากที่มหาวิทยาลัยได้ตรวจเงื่อนไขต่อไปนี้ครบถ้วนแล้วคือ สอบวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในหลักสูตรและวิชาเสริมพื้นฐานได้สัญลักษณ์ "S" ได้ศึกษากระบวนวิชาต่าง ๆ และสอบได้ตามหน่วยกิตครบตามหลักสูตร ได้ผลการศึกษาคิดเป็นแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 สอบประมวลความรอบรู้ให้ได้สัญลักษณ์ "S" นักศึกษาแต่ละคนมีโอกาศ ที่จะสมัครสอบประมวลความรู้ ู้ได้สองครั้ง ได้ศึกษากระบวนวิชา RU 100 ความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งในปีการศึกษา 2544 เป็นต้นไป มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม เน้นการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสันติสุข จึงให้นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนวิชา RU 100 โดยไม่นับหน่วยกิต ละไม่เก็บค่าหน่วยกิตแต่เป็นวิชาบังคับทุกสาขาวิชาจะต้องสอบผ่านจึงจะสำเร็จการศึกษาได้ โดยมีผลการสอบเป็นสัณลักษณ์ "S"